Skip links

มารู้จักระบบเปิด-ปิดของระบบธนาคารน้ำใต้ดิน SGB ระบบขจัดปัญหาน้ำท่วมขัง-ภัยแล้งณ อบต.เก่าขาม จ.อุบลราชธานี ตำบลต้นแบบการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

“น้ำ” คือทรัพยากรธรรมชาติของประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยที่ต้องการประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งปริมาณและคุณภาพในการอุปโภค บริโภค และดำรงอาชีพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือปัญหาวิกฤต​

น้ำที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่บ่อยครั้ง โดยสาเหตุเกิดจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะภัยแล้ง น้ำท่วมซ้ำซาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นจากทุกภาคส่วน แนวคิด “การเติมน้ำฝนลงเก็บไว้ใต้ดิน” จากที่สูงลงที่ต่ำจึงปรากฏขึ้น โดย อบต.เก่าขาม จ.อุบลราชธานี ได้ริเริ่มกรอบแนวคิดการแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และน้อมนำศาสตร์พระราชาของรัชกาลที่ ๙ ภายใต้บริบทของพื้นที่นำมาสู่ ระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB ยกร่างเป็นหนึ่งในต้นแบบในการถ่ายทอดระบบให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมบูรณาการโครงการ

การตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาแบบ New Model ให้มั่นคงและยั่งยืน ร่วมด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแบบ 5S ประกอบไปด้วย:

Scarce: ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่นอกเขตบริการชลประทาน
Sufficiency: สืบศาสตร์พระราชาตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงSuitable: เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และงบประมาณที่มีจำกัดSustainable: การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชน และชาวนาแบบ 100% โดยมีศูนย์กลางเป็นประชาชน= Sufficiency Groundwater Bank (SGB) : นวัตกรรมระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง

การตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาแบบ New Model ให้มั่นคงและยั่งยืน ร่วมด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแบบ 5S ประกอบไปด้วย:

↓​
Scarce: ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่นอกเขตบริการชลประทาน
Sufficiency: สืบศาสตร์พระราชาตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
Suitable: เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และงบประมาณที่มีจำกัดSustainable: การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชน และชาวนาแบบ 100% โดยมีศูนย์กลางเป็นประชาชน
= Sufficiency Groundwater Bank (SGB) : นวัตกรรมระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง‍

ระบบสายไฟฟ้าบนอากาศลงดินจึงเป็นแผนการดำเนินงานที่สำคัญของภูมิภาค ร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานเอกชนและราชการ จากโครงการที่ผ่านมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  บริษัทผู้ผลิตท่อเองก็มุ่งมั่นพัฒนาผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในวงการ ที่ร่วมการบุกเบิกการคิดค้นและออกแบบของผู้รับเหมา เพื่อขยาย Safety Factor เพิ่มอัตราการแรงดึงท่อไม่ให้ขาด ผลิตท่อร้อยสาย ขนาด OD 180mm. PN20 ม้วนละประมาณระยะที่ 200-500 เมตร ตัวอย่างหน้าไซต์งาน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรองผลทดสอบพร้อมใบ Calibration ของอัตราการยืดตัวจากการดึงท่อ (Elongation Test) การทดสอบความทนทานต่อแรงดึง แรงกดทับ อัตราการไหลเมื่อหลอมเหลว และเสถียรภาพทางความร้อน ตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ

 

ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB เป็นนวัตกรรมการเติมน้ำฝนจากหลังคา บ้านลงสู่ชั้นใต้ดิน สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลท่วมเขตพื้นที่ โดยกลไกการแทนที่อากาศในดินของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ น้ำฝนจะถูกส่งลงเก็บไว้ใต้ดินได้ในปริมาณมากและได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการรวมกันของน้ำใต้ดิน “เป็นการกักเก็บน้ำ” ซึ่งสามารถใช้น้ำที่เก็บไว้ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในท้ายที่สุด

นวัตกรรมวัสดุท่อลอนพิอีเสริมเหล็ก (SRPE) เพื่อใช้ในการระบายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง จึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่สูงลงที่ต่ำ เพื่อลำเลียงน้ำจากที่ต่ำไปหาที่สูงได้โดยการควบคุมการเดินทางของน้ำจากระบบ SGB ผ่านการกรองโดยธรรมชาติ และซึมซับน้ำที่จะมีความสะอาดมากกว่าน้ำบนผิวดิน โดยชั้นดินและชั้นหินอุ้มน้ำทําให้เกิดอัตราการไหลระหว่างน้ำกับอากาศในชั้นดิน ทํางานได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูง มีการใช้งบประมาณที่น้อยกว่า ใช้สอยบริบทพื้นที่ได้อย่างเต็มที่

ประเภทของธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ระหว่างระบบเปิด และระบบปิด ซึ่งระบบเปิด หมายถึง การขุดบ่อลึกลงถึง 5 เมตร เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) โดยตำแหน่งบ่อของแต่ละจุด จะมีระยะห่างประมาณ 1,500 เมตร เพื่อเป็นบ่อน้ำที่ใช้ตอบโจทย์การบริหารจัดการน้ำบาดาลที่แห้งจากการระเหยตัวของน้ำ และเป็นการกำหนดทิศทางการไหลของน้ำเข้าบ่อ เช่น บ่อชะลอน้ำ บ่อตกตะกอน บ่อรับน้ำ และบ่อเติมน้ำลงใต้ดิน มีจุดส่งน้ำและจุดรับน้ำ เป็นต้น​

ในขณะเดียวกัน  ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดชนิดครัวเรือน หมายถึงการเติมน้ำฝนลงใต้ดินในบ่อประดิษฐ์ ควบคุมคุณภาพและการผลิตโดย SR PE Group ที่นายชาตรี ศรีวิชาฐา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเก่าขาม ออกแบบกับนักวิจัย (R&D) เพื่อเร่งกระบวนการผันน้ำลงดิน ทำให้น้ำที่เกิดจากการเก็บไม่ล้นบ่อ เพราะน้ำใต้ดินในชั้นนี้ได้เชื่อมต่อธารน้ำกับหนอง บึง ลำห้วย ลำน้ำ แม่น้ำ และไหลออกสู่ทะเลตามธรรมชาติ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเข้าท่วมบ้านเรือนในบริเวณพื้นต่ำกว่าได้ทันทีเพียงชั่วข้ามคืน ไม่ต้องรอระบาย

นอกจากนี้ ระบบเทคโนโลยี (IoT) โดยใช้แอพพลิเคชั่นในการตรวจวัด (Sensor) วิเคราะห์ (Analysis) ประมวลผล (Processing) และออกรายงาน (Indicator and Report) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาสร้างสรรค์ (ICW) สำหรับการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มความสะดวกสบายและรวดเร็วต่อการผู้ติดตั้งและผู้ตรวจสอบบ่อประดิษฐ์ SGB เพื่อวัดคุณสมบัติน้ำใต้ดินและบนดิน และสภาพอากาศ ตามบริบทพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย เช่น การวัดระดับน้ำ อุณภูมิน้ำ สิ่งปนเปื้อน ทิศทางการไหล ปริมาณฝน ความชื้น ความเร็วและทิศทางลม ฯลฯ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดจะถูกส่งไปจัดเก็บบนคลาวด์​

การต่อยอดจากยางรถยนต์เพื่อกักเก็บน้ำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๙ เพื่อการกับเก็บน้ำอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ สู่การแปรผันนวัตกรรมการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์สู่รูปแบบใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ได้จริงตามบริบทพื้นที่ต่าง ๆ พิสูจน์ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างก่อนและหลังทำอย่างเป็นรูปธรรม และการบูรณาการร่วมกันจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สำรวจและผู้วิจัยที่ตำบลต้นแบบจากอบต.เก่าขาม ไม่ใช่เพียงเป็นแค่การชูจุดเด่นของระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง แต่ยังเป็นการช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการยกระดับชีวิตผู้คนอย่างที่คาดไม่ถึงได้อีกด้วย ​

Source: ตำบลต้นแบบการบริการจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน โดยระบบ SGB “ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง” องค์การบริการส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (24 ส.ค. 2563)

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการระบบธนาคารน้ำใต้ดิน SGB สินค้านวัตกรรมโดย SR :ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB อบต.เก่าขาม

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: เว็บไซต์: https://www.srpegroup.co.th
FB: https://www.facebook.com/srpegroup/
LINE OA: @srpegroup