Skip links

เทรนด์การเติบโตของระบบสายไฟฟ้าบนอากาศ เป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ด้วยการขุดเจาะวางท่อใต้ดินแบบ HDD (Horizontal Directional Drilling)

เทคโนโลยีการขุดเจาะเพื่อติดตั้งท่อใต้พื้นดิน แบบ Trenchless Technology หรือเรียกสั้น ๆ ว่า HDD (Horizontal Directional Drilling) ซึ่งถูกนิยมใช้ตั้งแต่ต้นปีค.ศ. 2000 ทั่วโลก เริ่มตั้งแต่สหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โซนเอเชีย รวมถึงประเทศไทยที่ขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของหนึ่งในประเทศของทวีปเอเชีย ที่วางท่อร้อยสายไฟ HDPE ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานสำหรับกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ระบบประปา การส่งแก๊ส ระบบส่งไฟฟ้า ฯลฯ โดยการเจาะลอดท่อในระยะมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป ไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่ ซึ่งตอบโจทย์กับประเทศที่เป็นพื้นที่ในเมือง (Urbanization) ถนนที่มีการจราจรคับคั่ง พื้นที่ชุมชนหนาแน่น อย่างที่เห็นใช้ในรถไฟฟ้าใต้ดินและคลอง เป็นต้น หรือหากใช้วิธีการขุดเปิดพื้นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง การวางท่อโดยการเจาะท่อลอดจึงเป็นวิธีแก้ไขปัญหาผลกระทบดังกล่าวที่อาจจะตามมา จากการขุดเปิดพื้นที่ (Open Cut) นำมาสู่ระบบสาธรณุประโภคที่ล้วนไปด้วยประสิทธิภาพ ไร้ร่องระบบสายไฟฟ้าบนอากาศ ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้สอยเพื่อปลูกสิ่งก่อสร้างอย่างมาก​

แล้วทำไมวิศวกร ผู้ติดตั้งหน้างานต้องเลือกใช้ท่อ HDPE แทนท่อประเภทอื่นล่ะ?

หลากหลายเสียงตอบรับของผู้รับเหมาในกลุ่มงานระบบท่อร้อยสายไฟ สามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากกว่า ด้วยวิธีการเจาะดึงท่อโดยใช้ท่อ HDPE โดยสามารถเจาะจากบ่อ(MH.) ถึง บ่อ(MH.) โดยที่ไม่ต้องเปิดบ่อก่อสร้าง และที่สำคัญ ท่อ HDPE สามารถผลิตได้สูงถึงกว่า 500 เมตร แบบม้วน “SR Mega Coil” ถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่ออกแบบวงคลี่ท่อเชิงวิศวกร นอกจากจะรองรับความยาวระยะเมตรของท่อ ยังสะดวกต่อการขนส่งอีกด้วย ซึ่งประเภทท่ออื่น ๆ ไม่สามารถผลิตสูงได้ถึงระยะเมตรที่ยาวมาก เนื่องจากความแตกต่างของโครงสร้างความยืดหยุ่นท่อ เช่น การดันท่อปลอกเหล็กแบบ Pipe Jacking จึงเป็นอีกวิธีการติดตั้งด้วยการดันท่อลอดในระยะที่ไม่ยาวมากนัก

นอกจากนี้ หากเทียบกับประเภทท่อ PVC, ท่อเหล็ก, ท่อ Ductile Iron และประเภทอื่น ๆ ท่อ HDPE ยังมีคุณสมบัติอันดีเด่นคือการโค้งงอได้ เหมาะสำหรับการวางท่อจากบ่อพักถึงบ่อพักที่ไม่ใช่เส้นตรงทั้งแถบถนน มีการหักเลี้ยวในบางมุมองศาที่จำกัด น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และที่สำคัญ ราคายังสมเหตุสมผลท่ามกลางอายุการใช้งานสูงถึง 50 ปีอีกด้วย สรุปค่าใช้จ่ายโดยรวมในการขนส่งและติดตั้งของท่อ HDPE เท่ากับ 10% ในขณะที่ท่อเหล็กอาจมีค่าใช้จ่ายมากถึง 30%

ระบบสายไฟฟ้าบนอากาศลงดินจึงเป็นแผนการดำเนินงานที่สำคัญของภูมิภาค ร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานเอกชนและราชการ จากโครงการที่ผ่านมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  บริษัทผู้ผลิตท่อเองก็มุ่งมั่นพัฒนาผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในวงการ ที่ร่วมการบุกเบิกการคิดค้นและออกแบบของผู้รับเหมา เพื่อขยาย Safety Factor เพิ่มอัตราการแรงดึงท่อไม่ให้ขาด ผลิตท่อร้อยสาย ขนาด OD 180mm. PN20 ม้วนละประมาณระยะที่ 200-500 เมตร ตัวอย่างหน้าไซต์งาน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรองผลทดสอบพร้อมใบ Calibration ของอัตราการยืดตัวจากการดึงท่อ (Elongation Test) การทดสอบความทนทานต่อแรงดึง แรงกดทับ อัตราการไหลเมื่อหลอมเหลว และเสถียรภาพทางความร้อน ตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ

แนวโน้มการเติบโตของรูปแบบการใช้งานแบบ HDD มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นและยังทรงตัวอยู่ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของระบบสาธรณุปโภคในประเทศ และเพื่อคลี่คลาย Paint Point การใช้ชีวิตของผู้คนพักอาศัยแถบพื้นที่ในเมืองได้อย่างไร้ที่ติ

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:127 ม.4 ต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74110 ​

E-mail : sr@srpegroup.co.th
www.srpegroup.co.th
FB : SR PE GROUP
Line : @srpegroup
Tel : +66 (34) 876 190-91
LINE OA: