มุมมองในฐานะผู้ประกอบการและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างสำหรับระบบสาธารณูปโภค ที่จำหน่ายแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน มองว่า โอกาสในการนามสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าจะเป็นผลดีต่อหลายๆ บริษัทในประเทศอย่างมาก อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่สภาวะราคากลุ่ม Commodity ผันผวนรุนแรงอย่างมาก ทำให้ไม่เหลือในโอกาสในการกักตุนท้ายที่สุด วัสดุก่อสร้างปรับราคาขึ้นทุกรายการจากต้นทุนพลังงาน หากภาวะสงครามยืดเยื้อจะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย
จากการตรวจสอบราคาพบว่าเหล็กขยับไปกว่า60-70% ขณะปูนซิเมนต์ คอนกรีต โครงสร้างหลักที่ใช้ในการก่อสร้างสำคัญไม่แพ้เหล็กความผันผวนสูงปรับราคา 4 ครั้ง เป็นเหตุให้ราคาปูนขยับไปที่คิวละ 120 บาท ในต้นปี2565 หรือ 12% เมื่อเทียบจากต้นทุนเดิมกระจกและอลูมิเนียมซึ่งนำมาประกอบประตูหน้าต่างขยับขึ้น 20-30% ขณะอิฐมวลเบาอิฐบล็อกแม้เป็นวัสดุหาวิตถุดิบได้ในประเทศ ราคาขายต่อก้อนก็ปรับตัวเนื่องจากน้ำมันมีราคาสูง
แม้ว่านโยบายของภาครัฐส่งเสริมเงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมันส่วนนึงเพื่อที่จะช่วยประคับประคองประชาชนต่อไป แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายครัวเรือนรวมถึงค่าครองชีพ และอัตราเงินเฟ้อ (stagflation) ของประเทศที่ต่างคนต่างไม่รู้จุดจบนอกจากนี้ยังไม่ได้พูดถึงอัตราค่าแรงที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จาก 300 กว่าบาท
ต่อวัน เป็น499-500บาท/วัน เนื่องจากกระทรวงแรงงานมีความประสงค์ให้ชะลอเพราะจะทำให้ภาคก่อสร้างมีต้นทุนที่สูงขึ้น จากเดิมที่สูงมากอยู่แล้ว