บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด
Language
English
Thai
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด ผลิตและจำหน่ายท่อและอุปกรณ์ HDPE
วิสัยทัศน์ & พันธกิจ
มุ่งสู่การเป็นผู้นําในอุตสาหกรรมการผลิต ท่อและอุปกรณ์ HDPE
ข่าวสาร
บทความและข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท
สินค้าของเรา
ท่อและอุปกรณ์ HDPE สำหรับระบบส่งน้ำ
ท่อและอุปกรณ์ HDPE สำหรับงานระบบร้อยสายไฟฟ้า
ท่อลอน PE เสริมเหล็ก
ถังเก็บน้ำชนิด PE เสริมเหล็ก (PROTANK)
เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์
ข้อต่อแบบสวมอัด
ข้อต่อแบบสวมเร็ว
บ้านน๊อคดาวน์พอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก
การประกันคุณภาพ
ติดต่อเรา
ที่อยู่บริษัท
S.R PE GROUP CO.,LTD.
บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด
Customer Suggestion Box
(กล่องความคิดเห็นของลูกค้า)
Customer Satisfaction Survey
(กล่องความคิดเห็นของลูกค้า)
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Click
ดาวน์โหลด Application
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
ขอใบเสนอราคา
January 05, 2021
มารู้จักระบบเปิด-ปิดของระบบธนาคารน้ำใต้ดิน SGB ระบบขจัดปัญหาน้ำท่วมขัง-ภัยแล้งณ อบต.เก่าขาม จ.อุบลราชธานี ตำบลต้นแบบการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“น้ำ” คือทรัพยากรธรรมชาติของประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยที่ต้องการประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งปริมาณและคุณภาพในการอุปโภค บริโภค และดำรงอาชีพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือปัญหาวิกฤต
น้ำที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่บ่อยครั้ง โดยสาเหตุเกิดจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะภัยแล้ง น้ำท่วมซ้ำซาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นจากทุกภาคส่วน แนวคิด “การเติมน้ำฝนลงเก็บไว้ใต้ดิน” จากที่สูงลงที่ต่ำจึงปรากฏขึ้น โดย อบต.เก่าขาม จ.อุบลราชธานี ได้ริเริ่มกรอบแนวคิดการแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และน้อมนำศาสตร์พระราชาของรัชกาลที่ ๙ ภายใต้บริบทของพื้นที่นำมาสู่ ระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB ยกร่างเป็นหนึ่งในต้นแบบในการถ่ายทอดระบบให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมบูรณาการโครงการ
การตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาแบบ New Model ให้มั่นคงและยั่งยืน ร่วมด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแบบ 5S ประกอบไปด้วย:
Scarce: ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่นอกเขตบริการชลประทาน
Sufficiency: สืบศาสตร์พระราชาตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงSuitable: เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และงบประมาณที่มีจำกัดSustainable: การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชน และชาวนาแบบ 100% โดยมีศูนย์กลางเป็นประชาชน= Sufficiency Groundwater Bank (SGB) : นวัตกรรมระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
การตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาแบบ New Model ให้มั่นคงและยั่งยืน ร่วมด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาแบบ 5S ประกอบไปด้วย:
↓
Scarce: ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่นอกเขตบริการชลประทาน
Sufficiency: สืบศาสตร์พระราชาตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
Suitable: เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และงบประมาณที่มีจำกัดSustainable: การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชน และชาวนาแบบ 100% โดยมีศูนย์กลางเป็นประชาชน
= Sufficiency Groundwater Bank (SGB) : นวัตกรรมระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
ระบบสายไฟฟ้าบนอากาศลงดินจึงเป็นแผนการดำเนินงานที่สำคัญของภูมิภาค ร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานเอกชนและราชการ จากโครงการที่ผ่านมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) บริษัทผู้ผลิตท่อเองก็มุ่งมั่นพัฒนาผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในวงการ ที่ร่วมการบุกเบิกการคิดค้นและออกแบบของผู้รับเหมา เพื่อขยาย Safety Factor เพิ่มอัตราการแรงดึงท่อไม่ให้ขาด ผลิตท่อร้อยสาย ขนาด OD 180mm. PN20 ม้วนละประมาณระยะที่ 200-500 เมตร ตัวอย่างหน้าไซต์งาน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรองผลทดสอบพร้อมใบ Calibration ของอัตราการยืดตัวจากการดึงท่อ (Elongation Test) การทดสอบความทนทานต่อแรงดึง แรงกดทับ อัตราการไหลเมื่อหลอมเหลว และเสถียรภาพทางความร้อน ตามข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ
ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB เป็นนวัตกรรมการเติมน้ำฝนจากหลังคา บ้านลงสู่ชั้นใต้ดิน สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลท่วมเขตพื้นที่ โดยกลไกการแทนที่อากาศในดินของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ น้ำฝนจะถูกส่งลงเก็บไว้ใต้ดินได้ในปริมาณมากและได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการรวมกันของน้ำใต้ดิน “เป็นการกักเก็บน้ำ” ซึ่งสามารถใช้น้ำที่เก็บไว้ กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในท้ายที่สุด
นวัตกรรมวัสดุท่อลอนพิอีเสริมเหล็ก (SRPE) เพื่อใช้ในการระบายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง จึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่สูงลงที่ต่ำ เพื่อลำเลียงน้ำจากที่ต่ำไปหาที่สูงได้โดยการควบคุมการเดินทางของน้ำจากระบบ SGB ผ่านการกรองโดยธรรมชาติ และซึมซับน้ำที่จะมีความสะอาดมากกว่าน้ำบนผิวดิน โดยชั้นดินและชั้นหินอุ้มน้ำทําให้เกิดอัตราการไหลระหว่างน้ำกับอากาศในชั้นดิน ทํางานได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูง มีการใช้งบประมาณที่น้อยกว่า ใช้สอยบริบทพื้นที่ได้อย่างเต็มที่
ประเภทของธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ระหว่างระบบเปิด และระบบปิด ซึ่งระบบเปิด หมายถึง การขุดบ่อลึกลงถึง 5 เมตร เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) โดยตำแหน่งบ่อของแต่ละจุด จะมีระยะห่างประมาณ 1,500 เมตร เพื่อเป็นบ่อน้ำที่ใช้ตอบโจทย์การบริหารจัดการน้ำบาดาลที่แห้งจากการระเหยตัวของน้ำ และเป็นการกำหนดทิศทางการไหลของน้ำเข้าบ่อ เช่น บ่อชะลอน้ำ บ่อตกตะกอน บ่อรับน้ำ และบ่อเติมน้ำลงใต้ดิน มีจุดส่งน้ำและจุดรับน้ำ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดชนิดครัวเรือน หมายถึงการเติมน้ำฝนลงใต้ดินในบ่อประดิษฐ์ ควบคุมคุณภาพและการผลิตโดย SR PE Group ที่นายชาตรี ศรีวิชาฐา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเก่าขาม ออกแบบกับนักวิจัย (R&D) เพื่อเร่งกระบวนการผันน้ำลงดิน ทำให้น้ำที่เกิดจากการเก็บไม่ล้นบ่อ เพราะน้ำใต้ดินในชั้นนี้ได้เชื่อมต่อธารน้ำกับหนอง บึง ลำห้วย ลำน้ำ แม่น้ำ และไหลออกสู่ทะเลตามธรรมชาติ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเข้าท่วมบ้านเรือนในบริเวณพื้นต่ำกว่าได้ทันทีเพียงชั่วข้ามคืน ไม่ต้องรอระบาย
นอกจากนี้ ระบบเทคโนโลยี (IoT) โดยใช้แอพพลิเคชั่นในการตรวจวัด (Sensor) วิเคราะห์ (Analysis) ประมวลผล (Processing) และออกรายงาน (Indicator and Report) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาสร้างสรรค์ (ICW) สำหรับการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มความสะดวกสบายและรวดเร็วต่อการผู้ติดตั้งและผู้ตรวจสอบบ่อประดิษฐ์ SGB เพื่อวัดคุณสมบัติน้ำใต้ดินและบนดิน และสภาพอากาศ ตามบริบทพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย เช่น การวัดระดับน้ำ อุณภูมิน้ำ สิ่งปนเปื้อน ทิศทางการไหล ปริมาณฝน ความชื้น ความเร็วและทิศทางลม ฯลฯ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดจะถูกส่งไปจัดเก็บบนคลาวด์
การต่อยอดจากยางรถยนต์เพื่อกักเก็บน้ำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๙ เพื่อการกับเก็บน้ำอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ สู่การแปรผันนวัตกรรมการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์สู่รูปแบบใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ได้จริงตามบริบทพื้นที่ต่าง ๆ พิสูจน์ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างก่อนและหลังทำอย่างเป็นรูปธรรม และการบูรณาการร่วมกันจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สำรวจและผู้วิจัยที่ตำบลต้นแบบจากอบต.เก่าขาม ไม่ใช่เพียงเป็นแค่การชูจุดเด่นของระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง แต่ยังเป็นการช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการยกระดับชีวิตผู้คนอย่างที่คาดไม่ถึงได้อีกด้วย
Source:
ตำบลต้นแบบการบริการจัดการน้ำนอกเขตชลประทาน โดยระบบ SGB “ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง” องค์การบริการส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (24 ส.ค. 2563)
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการระบบธนาคารน้ำใต้ดิน SGB สินค้านวัตกรรมโดย SR :ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB อบต.เก่าขาม
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: เว็บไซต์:
http://www.srpegroup.co.th
FB:
https://www.facebook.com/srpegroup/
LINE OA: @srpegroup
More Blog & News
ว่าด้วยเรื่องข้อต่อลดคางหมูตอบโจทย์การไหลของน้ำในเส้นท่อ ช่วยได้จริงหรือ?
SR รักษ์โลก รักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ชู “zero waste” สู่เศรษฐกิจสีเขียว
ความกังวลของภาครัฐในการรับมือสถานการณ์ท่ามกลางฤดูภัยแล้ง
ทิศทางการไปต่อของราคาวัสดุก่อสร้างจากพิษที่ถูกลามโดยวิกฤติสงครามปี 2565
แรงบันดาลใจจากประเทศเนเธอร์แลนด์ DeltaWorks โปรเจกต์จัดการน้ำท่วมที่ดีที่สุดในโลก
อุปกรณ์แบบสวมเร็ว (get to know pneumatic quick fittings for irrigation system)
“Net Zero Day” Inspired by The Best Water Management Practice in The World
SR ส่งท่อลอนพีอีเสริมเหล็ก PROPIPE ผนึกกำลัง TRC รับเหมางานวางท่อระบายน้ำ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ภัยพิบัติซ้ำซ้อนของชาวไทยท่ามกลางหายนะน้ำท่วมและโควิด ซ้ำรอยปี 2554 แห่งประเทศไทย
ชนิดท่อระบายน้ำ มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกใช้อันไหนดี? MR.SR มีคำตอบให้แล้วทางนี้
แนวโน้มขยายตัวธุรกิจรับเหมา ท่ามกลางสภาวะ COVID-19 ระลอก 3 และวิธีรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง
แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของปัญหาถนนทรุดพื้นที่ในเมือง ขจัดความกลัวของประชาชน! เพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณูปโภคในประเทศ
Road Subsidence in Construction Work in Urban Areas of Thailand
พาชมขั้นตอนการติดตั้งท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก ให้ปั้มน้ำมัน ปตท.
Pipe Bursting and Splitting
มารู้จักระบบเปิด-ปิดของระบบธนาคารน้ำใต้ดิน SGB ระบบขจัดปัญหาน้ำท่วมขัง-ภัยแล้ง ณ อบต.เก่าขาม จ.อุบลราชธานี
PROJECT REVIEW: การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ของ “SR” ที่เป็นมากกว่าคำว่า “ธุรกิจ” พร้อมเผยสินค้านวัตกรรมท่อลอน PE เสริมเหล็ก (PROPIPE) หน้าไซต์ ถนนเลียบชายหาดพัทยา
ประวัติศาสตร์แนวหน้าใหม่ของประเทศ ระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง SGB(Sufficiency Groundwater Bank)
ก.แรงงาน ยกระดับสปก. เพิ่มผลิตภาพแรงงาน จัดวางระบบอย่างมืออาชีพ
บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด ร่วมลงนาม MOU ความร่วมมือโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน 4.0 ประจำปี
The transformation of water pipes to an ultimate modern touch of above-underground living
Raising Standard of Living Across the Globe: HDPE for Water Pipelines, A Solution for Alternative Materials
ท่อการเกษตร-น้ำดื่ม HDPE “NAGA” แบรนด์น้องใหม่ไฟแรงภายใต้บริษัท S.R ในราคาสุดคุ้ม พร้อมให้บริการคำปรึกษาการวางระบบเกษตรกรรมแบบครบวงจร
ความแตกต่างระหว่าง PE80 และ PE100
คู่มือสำหรับท่อและอุปกรณ์ HDPE ที่ทุกคนต้องรู้
ท่อ HDPE เเบบลูกฟูกสำหรับการใช้งานระบายน้ำเสียและการระบายน้ำ
วิธีการต่าง ๆ ในการซ่อมแซมท่อ HDPE
การเชื่อมต่อท่อ HDPE 4 วิธี
เครื่องเชื่อมโลหะ: ระหว่างCV กับ CC แบบไหนดีกว่ากัน?
ข้อดีของท่อลูกฟูก HDPE เสริมเหล็ก การใช้งานในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการประยุกต์ใช้
คำแนะนำในการซื้อเครื่องเจาะขนาดใหญ่
ส่วนประกอบของเครื่องเชื่อมเหล็ก
6 สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนซื้อเครื่องขุดเจาะ
ท่อ HDPE
ความแข็งของท่อ - เป็นที่พูดถึงเป็นจำนวนมากแต่มีความเข้าใจน้อยที่สุด?
ท่อเอชดีพีอี: ทางเลือกที่ดีสำหรับสายเคเบิลฝัง
เทรนด์การเติบโตของระบบสายไฟฟ้าบนอากาศ เป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน ด้วยการขุดเจาะวางท่อใต้ดินแบบ HDD (Horizontal Directional Drilling)
Contact Us
Call Us
Chat Via Line
Chat Via Facebook